แนวปฏิบัติ และการตีความ IFRS 17 สำหรับธุรกิจ ประกันวินาศภัยไทย ตอนที่ 3
- actuarialbiz actuarialbiz
- 4 ธ.ค. 2567
- ยาว 2 นาที
อัปเดตเมื่อ 22 ม.ค.
การแยกองค์ประกอบของสัญญาประกันภัย (Separation of Insurance Contract)
เป็นเรื่องทั่วไปที่แต่ละมาตรฐานการรายงานทางการเงินจะมีการกำหนดขอบเขตของสัญญาประกันภัย ว่าอะไรที่เข้าข่ายมาตรฐานนี้ และอะไรที่ไม่เข้าข่าย ซึ่งใน IFRS 17 เองก็ได้กำหนดถึงขอบเขตของตัวเองว่า อะไรที่จะเข้าข่ายว่าจะต้องนำมาพิจารณาสำหรับ IFRS 17 บ้าง เช่น ส่วนประกอบที่เป็นส่วนของความคุ้มครอง และส่วนของการลงทุนที่แยกออกมาจากส่วนของประกันภัยไม่ได้ (Non Distinct Investment Component: NDIC) เป็นต้น
โดยในบทแรกนี้เขียนขึ้นมาเพื่อจำแนกลักษณะของสัญญาประกันภัยต่าง ๆ ว่าอาจจะมีส่วนประกอบอื่นที่ไม่เกี่ยวกับ IFRS 17 มาเจือปนได้ ซึ่งส่วนประกอบอื่นที่มาเจือปนนี้ส่วนใหญ่จะมาจากสัญญาประกันชีวิตที่มีส่วนเพิ่มเติมของการลงทุน หรือพวกบริการ อื่น ๆ ที่ผนวกเข้ามาพร้อมกับความคุ้มครองประกันชีวิต
ดังนั้น ในบทนี้จึงเน้นที่จะดึง และแยกแยะส่วนที่เป็นเฉพาะความคุ้มครองออกมาก่อน ส่วนนี้จึงไม่ค่อยมีปัญหากับทางธุรกิจประกัน วินาศภัยสักเท่าไร เพราะมันตรงตัวของมันอยู่แล้ว (ในทางกลับกันมันถูกเขียนขึ้นมาให้ครอบคลุมสำหรับประกันชีวิตมากกว่า)
Separation of Insurance Contract นี้ แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ส่วน คือ
องค์ประกอบที่เป็นการประกันภัย (Insurance Component)
ในส่วน Insurance Component นั้นก็แปลตรงตัวกันอยู่แล้วว่ามันคือ องค์ประกอบที่เป็นการประกันภัย ก็คืออะไรที่เน้นความคุ้มครองเป็นหลัก หรือถ้าให้เป็นภาษาที่ง่ายกว่านั้นก็คือ อะไรก็ตามที่มีทุนประกันภัยที่จะจ่ายเมื่อเกิดเหตุการณ์ และอะไรที่ระบุไว้ในสัญญากรมธรรม์นั้นก็เรียกว่าเป็น Insurance Component ได้
อนุพันธ์แฝง (Embedded Derivatives)
ในส่วนของ Embedded Derivative นั้น จะไม่ค่อยเกี่ยวกับแบบประกันของทางธุรกิจประกันวินาศภัยเท่าไร เพราะมันเป็นตราสาร
อนุพันธ์แฝงที่ถูกสร้างขึ้นมาพร้อมกับสัญญาประกันภัยที่มีการลงทุนอยู่ข้างในด้วย เช่น
Callable Bond (คือพันธบัตรที่ลูกหนี้สามารถเอาเงินต้นคืนให้กับเจ้าหนี้ได้เสมอ และหยุดจ่ายดอกเบี้ยในทันที)
Interest Rate Swap ที่เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ต้องใช้ความรู้ทางวิศวกรรมการเงิน ที่จะต้องเป็นการแลกเปลี่ยนจากดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate) ไปเป็นดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) หรือจากดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) ไปเป็นดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate) เป็นต้น
พวก Currency Swap ที่เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ต้องใช้ความรู้ทางวิศวกรรมการเงินที่เป็นการแลกเปลี่ยนจากอัตราค่าเงินสกุลหนึ่งไปเป็นเงินอีกสกุลหนึ่ง
ซึ่งถ้าเราเอาเรื่องของ Embedded Derivative มาประยุกต์กับธุรกิจประกันภัย เท่าที่เป็นไปได้ก็จะมีแบบประกันภัยบางประเภทที่มีโอกาสเข้าข่ายได้ เช่น
GMXB ของประกันชีวิต เช่น พวก Guarantee Minimum Benefit ของอะไรต่าง ๆ ของพวกประกันพ่วงการลงทุนไม่ว่าจะเป็น Unit Linked หรือ Universal Life เป็นต้น
แบบประกันที่เบี้ยประกันภัยที่เก็บมานั้นจะนำไปลงทุนกับสกุลเงินภายในประเทศ แต่ตัวของทุนประกันภัยจะเป็นสกุลเงินต่างประเทศ โดยเราจะเรียกว่า เป็นพวกที่สินทรัพย์ และหนี้สินมี Currency หรือสกุลเงินที่ต่างกัน ซึ่งมันก็จะเหมือนกับการไป
การันตีหนี้สินในอีกสกุลเงินหนึ่งที่แตกต่างจากฝั่งสินทรัพย์
ตัว Embedded Derivative ในบทแรกนี้ จึงไม่เกี่ยวข้องกับบริบทของประกันวินาศภัยเท่าไรนัก แต่จะเกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันชีวิตเสียมากกว่า และแทบจะไม่มีให้เห็นในประกันชีวิตในประเทศไทยเสียด้วย สรุปว่าถ้าใครอ่าน Embedded Derivative แล้วรู้สึกสับสนหรือไม่เข้าใจ ก็สามารถข้ามส่วนนี้ไปได้โดยไม่เป็นปัญหา เพราะไม่ได้มีผลกับธุรกิจประกันวินาศภัยโดยตรงครับ
องค์ประกอบที่เป็นการลงทุน (Investment Component)
ส่วนที่หลายคนค่อนข้างสับสนกันก็คือ ในส่วนของการแยกแยะ Investment Component ซึ่งในส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันเพราะธุรกิจประกันส่วนใหญ่จะเกิดจากการเอาเงินมาฝากก่อน เพื่อจะต้องลงทุนให้ได้ผลตอบแทน และไว้จ่ายเคลมในอนาคต โดยจะเห็นได้ชัดเจนมากในธุรกิจประกันชีวิต
Investment Component นั้นสามารถแจกแจงออกมาได้ 2 แบบ คือ แบบที่แยกการลงทุนออกมาได้ชัดเจน กับแบบที่แยกการลงทุนออกมาได้อย่างไม่ชัดเจน
ส่วนที่แยกการลงทุนออกมาได้อย่างชัดเจน (Distinct) ก็หมายถึง การลงทุนโดยตรง เช่น พวก Unit Linked ที่มี Unit Account หรือ Account Value (มูลค่าบัญชี) โดยตรงได้ตั้งแต่วันแรก โดยจุดสำคัญที่จะบอกว่ามันแยกการลงทุนออกมาได้อย่างชัดเจนคือ การที่สามารถเห็นมูลค่าเพื่อประเมินการถอนจ่ายได้เลย หรือการที่เห็นได้ชัดเลยว่าส่วนลงทุนของผู้ถือกรมธรรม์ตอนนี้นั้นมีอยู่เท่าไร เป็นต้น ดังนั้นส่วนนี้จึงอาจไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันวินาศภัย เว้นเสียแต่ว่าแบบประกันของธุรกิจประกันวินาศภัยจะทำเป็นแบบ Unit Linked ที่พ่วงการลงทุน (ในอนาคตอันไกลโพ้น) นั่นเอง
ส่วนที่แยกการลงทุนออกมาได้อย่างไม่ชัดเจน (Non-distinct) ซึ่งเหมือนมันฝังเรื่องของการลงทุนเข้าไปอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นประเภทที่มีเงินคืนกลับไปให้ลูกค้า โดยในส่วนของประกันวินาศภัยจะมีการเกี่ยวข้องนั้นก็คือตอนที่แบบประกันนั้นมีลักษณะที่เป็นสัญญาระยะยาวแบบ Return of Premium (ROP) ที่มีการคืนเบี้ยให้เมื่อครบกำหนดสัญญา หรือไม่ก็เป็นพวก Experience Refund ที่ถือว่าแฝงอยู่ในส่วน Non Distinct นี้ (เรียกภาษาทางการว่า Non Distinct Investment Component: NDIC) ที่เหมือนกับการฝากเงินเก็บไว้ก่อน และจ่ายคืนให้ทีหลังแบบอ้อม ๆ
ประเด็นสำคัญก็คือ ส่วนที่เป็น Distinct Investment Component นั้น จะไม่นับว่าเข้าข่าย IFRS17 แต่จะถือเป็นเรื่องของเครื่องมือทางการเงินแทน ในมาตรฐานรายงานทางการเงิน IFRS9 แต่ส่วนที่เป็น Non Distinct Investment Component นั้น จะยังถือเป็น IFRS17 อยู่
ทั้งนี้ ในการตีความเพื่อให้ง่ายกับการดำเนินการของธุรกิจประกันวินาศภัยนั้น เราสามารถตีความ No Claim Bonus (NCB) ให้เป็นเหมือนส่วนลดเบี้ยประกันไปเลย สิ่งเหล่านี้สามารถทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายได้ โดยที่ไม่ต้องหยิบมันเข้ามาจัดประเภทให้เป็น Non Distinct Investment Component ให้ยุ่งยาก
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับประกันชีวิต (เผื่อประกันวินาศภัยในอนาตคอยากทำบ้าง) ก็จะเป็นจำพวก Equity Index Link หรือ Gold Index Link ที่กรมธรรม์ระบุว่าจะมีการจ่ายเงินคืนตามผลประกอบการของหุ้นหรือทองคำที่ลงทุนไป เป็นต้น
สัญญาในการโอนสินค้าหรือบริการที่ไม่ใช่การประกัน (Promises to Transfer Goods or Non-Insurance Services)
Commenti